แนวทางในการประเมินความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์
เอกสารวิจัยฉบับที่ 70
สรุปโดยย่อ
ในขณะที่บริษัทและผู้บริโภคต่างมองหาทางเพื่อลดและรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้จัดจำหน่ายกำลังตอบสนองกับการกล่าวอ้างของผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม การประเมินความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์มีความซับซ้อนและคำกล่าวอ้างนั้นยากที่จะสืบหาความชัดเจนได้เมื่อไม่ทราบถึงเงื่อนไขและมาตรฐานในการผลิต ในคู่มือนี้เรายังอธิบายถึงมาตรฐานสากลสำหรับฉลากสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ และใบรับรองที่ช่วยในการประเมินผลิตภัณฑ์ จากนั้น เราจะอภิปรายถึงวิธีการอ่านเอกสารการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยระบุปริมาณสมรรถภาพด้านความยั่งยืน สุดท้าย เราให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวิธีการประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันอย่างถูกต้อง เพื่อให้ความมั่นใจได้ว่าการตัดสินใจซื้อของคุณจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรคุณได้อย่างแท้จริง
บทนำ
ผู้นำบริษัท แผนกความยั่งยืน และแผนกจัดซื้อจัดจ้างมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงและรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของธุรกิจของพวกเขา ผลิตภัณฑ์และบริการที่บริษัทซื้อมีบทบาทสำคัญกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมของบริษัทในแง่ของการปล่อยก๊าซ CO2e ขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ผลคือ โรงงานผู้ผลิตต้องตอบสนองกับคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม การประเมินความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์มีความซับซ้อนและคำกล่าวอ้างนั้นยากที่จะสืบหาความชัดเจนได้เมื่อไม่ทราบถึงเงื่อนไขและมาตรฐานที่ใช้ในการผลิต นี่เป็นเหตุผลที่นำไปสู่การโฆษณาที่น่าสงสัยและการกล่าวอ้างของผลิตภัณฑ์ "สีเขียว" ที่เรียกว่า "การฟอกเขียว" ดังที่แสดงให้เห็นในรูปที่ 1 น่าเสียดาย แนวทางปฏิบัตินี้สามารถส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ที่พวกเขากำลังซื้อนั้นกำลังช่วยลดฟุตพรินต์ทางสิ่งแวดล้อมได้ (ดูหมายเหตุท้ายเรื่อง 1 ถึง 4) แม้ว่าจะมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น การใช้น้ำและการมีส่วนร่วมที่ทำให้แหล่งแร่หมดสิ้นไป แต่คู่มือนี้มุ่งเน้นไปที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนซึ่งเป็นวิธีการประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะได้รับการประเมินอย่างแตกต่างกันในเรื่องนี้ ดังนั้น คู่มือนี้จึงเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับผลิตภัณฑ์ด้านไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EEE) และผลิตภัณฑ์ทำความร้อน ระบายอากาศ และปรับอากาศ (HVAC)
ยิ่งไปกว่านั้น ในคู่มือนี้เรายังอธิบายถึงมาตรฐานสากลสำหรับฉลากสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ และใบรับรองที่ช่วยในการประเมินผลิตภัณฑ์ จากนั้น เราจะอธิบายถึงวิธีการอ่านเอกสารใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยระบุปริมาณสมรรถภาพด้านความยั่งยืน สุดท้าย เราให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันอย่างถูกต้อง ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าการตัดสินใจซื้อของคุณจะช่วยลดฟุตพรินต์ทางสิ่งแวดล้อมให้กับองค์กรของคุณได้อย่างแท้จริง

ภาพของโลกสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงผลิตภัณฑ์สีเขียว (นั่นคือสิ่งที่ดีสำหรับโลกใบนี้) แต่ข้างในผลิตภัณฑ์นั้นไม่ใช่สีเขียว (เช่น ใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบ) โฆษณาที่ใช้คำกล่าวอ้างที่ดีจนไม่น่าเชื่อ กล่าวอ้างเกินจริง หรือการแนะนำแบบผิดๆ ล้วนเป็นตัวอย่างที่เป็นไปได้ของการฟอกเขียว
มาตรฐานที่ช่วยในการประเมินผลิตภัณฑ์
ผู้ผลิตสามารถสร้างผลกระทบและอิทธิพลสำคัญต่อฟุตพรินต์ทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ มีแนวทางต่างๆ ที่ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงฟุตพรินต์ทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นตลอดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ รวมถึงเมื่อหมดอายุใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตสามารถซื้อพลังงานทดแทนเพื่อใช้ในการดำเนินงานต่างๆ ในโรงงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อใช้พลาสติกและโลหะน้อยลง ใช้ส่วนประกอบที่เล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เซมิคอนดักเตอร์แบบ แบบ wide-bandgap ผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิล นำเสนอโปรแกรมการรับคืนผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน และแนวทางปฏิบัติอื่นๆ อีกมากมาย คำถามเปลี่ยนเป็น: แล้วผู้ที่ทำการประเมินและยืนยันว่าผลิตภัณฑ์หนึ่งมีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากกว่าอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งได้อย่างไร คำตอบอยู่ในฉลากสิ่งแวดล้อมและใบรับรอง รวมถึงมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกของพวกเขา
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) เป็นหนึ่งในองค์กรมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดองค์กรหนึ่งในโลก ในอุตสาหกรรมการผลิต องค์กรนี้เป็นที่รู้จักกันดีเกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารจัดการคุณภาพ ISO 9000 เช่นเดียวกันกับในชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรนี้เป็นที่รู้จักสำหรับมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ISO 14000 มาตรฐานเหล่านี้ให้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อทำความเข้าใจถึงฉลากความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมที่ผู้ผลิตนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ในรายงานฉบับนี้ เราอธิบายถึงฉลากที่เกี่ยวข้อง 3 ฉลาก:
-
ฉลากประเภท I ถูกควบคุมโดยมาตรฐาน ISO 14024:2018 ฉลากและแถลงการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม - การติดฉลากสิ่งแวดล้อมประเภท I - หลักการและขั้นตอน ฉลากเหล่านี้สื่อว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ มีคุณสมบัติตรงตามหรือสูงกว่าเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้โดยองค์การอิสระบุคคลที่สาม ดังนั้น ฉลากประเภท I จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบจากบุคคลที่สาม ซึ่งทำให้เป็นวิธีที่มีความน่าเชื่อถือและมีประโยชน์ในการ “ตัดตัวเลือก” รายการผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คุณกำลังพิจารณาซื้อ อย่างไรก็ตาม การมีฉลากเหล่านี้อาจทำให้ต้นทุนสำหรับซัพพลายเออร์สูงขึ้น โดยเฉพาะหากซัพพลายเออร์มีผลิตภัณฑ์จำนวนมากในหมวดหมู่ที่แตกต่างกัน ซึ่งคือสาเหตุที่มีผลิตภัณฑ์เพียงไม่กี่รายการได้ฉลากประเภทนี้ ตัวอย่างส่วนหนึ่งของฉลากประเภท I แสดงในรูปที่ 2
ในกรณีของ Energy Star จะตรวจสอบประสิทธิภาพของหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น หากมีใครมองหา UPS ที่มีประสิทธิภาพ พวกเขาสามารถใช้ ตัวค้นหาผลิตภัณฑ์ ของ Energy Star เพื่อค้นหา UPS ที่มีประสิทธิภาพที่สุดภายในหมวดหมู่ที่ต้องการ ขณะที่ฉลากประเภท I ให้วิธีการที่สะดวกและถูกต้องในการเปรียบเทียบคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่ง เช่น ประสิทธิภาพ แต่ข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้อิงตาม การประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (LCA)
รูปที่ 2 - ตัวอย่างของฉลากประเภท I
Energy Star
เรียนรู้เพิ่มเติม Ecolabel
เรียนรู้เพิ่มเติม China Environmental Labelling Program (CELP)
เรียนรู้เพิ่มเติม -
ฉลากประเภท 2 ถูกควบคุมโดยมาตรฐาน ISO 14021:2016 ฉลากและแถลงการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม - การกล่าวอ้างด้านสิ่งแวดล้อมแบบประกาศเอง (การติดฉลากสิ่งแวดล้อมประเภท II) เช่นเดียวกันกับฉลากประเภท I ที่สื่อว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ มีคุณสมบัติตรงตามหรือสูงกว่าเกณฑ์ และเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตาม ตามที่หัวเรื่องได้บอกเป็นนัย ฉลากเหล่านี้เป็นฉลากที่ประกาศใช้ด้วยตนเอง หมายความว่าผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สามารถกล่าวอ้างตามที่พวกเขาต้องการได้โดยไม่มีการตรวจสอบจากบุคคลที่สาม เป็นที่น่าเสียดาย ผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงไม่มากใช้ข้อได้เปรียบนี้ และใช้การกล่าวอ้างที่เป็นเท็จบนฉลากประเภท II ของพวกเขา ดังนั้น การตรวจสอบจึงมีความสำคัญอย่างมาก หากคุณต้องการใช้ฉลากประเภท II ในการประเมินของคุณ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ผลิตจะต้องจัดเตรียมเอกสารที่สำคัญของโครงการฉลากพร้อมกับข้อมูลต่างๆ ตามมาตรฐาน ISO 14021 “วิธีการประเมินที่ใช้โดยผู้ที่กล่าวอ้างด้านสิ่งแวดล้อมควรมีความชัดเจน โปร่งใส มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และมีการบันทึกไว้” นอกจากนี้ ผู้ผลิตควรมีข้อมูลที่พร้อมสำหรับพิสูจน์การกล่าวอ้างนั้นๆ ฉลากไม่ควรสื่อเป็นนัยว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการรับรอง หรือได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยบุคคลที่สามแล้ว ตัวอย่างของฉลากประเภท II แสดงอยู่ในรูปที่ 3
รูปที่ 3 - ตัวอย่างของฉลากประเภท II
Brother Green Products
เรียนรู้เพิ่มเติม -
ฉลากประเภท III ถูกควบคุมโดยมาตรฐาน ISO 14024 ฉลากและแถลงการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม - หลักการและขั้นตอน (แถลงการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมประเภท III) อธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ แถลงการณ์ผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม (EPD) เป็นเอกสารที่สรุปข้อมูลวงจรชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์หรือบริการ และโดยปกติจะมีอายุ 5 ปี EPD ช่วยให้ specifier ทำการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โดยอิงจากความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งคล้ายกับฉลากข้อมูลโภชนาการที่คุณเห็นบนผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าจะซื้ออาหารชนิดใด เหตุผลหลักที่ฉลากอาหารช่วยให้ผู้ซื้อสามารถเปรียบเทียบอาหารที่คล้ายกันได้ก็เนื่องมาจากฉลาก (ในประเทศนั้นๆ) ใช้มาตรฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับ EPD ที่ช่วยให้ผู้กําหนดสามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ในหมวดหมู่เดียวกันได้อย่างง่ายดาย เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ มาตรฐาน ISO 14025 “สร้างหลักการและระบุขั้นตอนสำหรับการพัฒนาโครงการแถลงการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมประเภท III และแถลงการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมประเภท III”
EPD ต้องอ้างอิงตามข้อมูล LCA หรือข้อมูลการวิเคราะห์รายละเอียดของสินค้าตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งควบคุมด้วยมาตรฐาน ISO 14040 เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบว่า ISO 14040 ใช้ได้ทั่วไปและสามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์และบริการทุกประเภท ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์มากนักกับหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์จำเพาะ ผู้ดำเนินโครงการจะช่วยอุดช่องโหว่ด้วยการบริหารจัดการโครงการให้สอดคล้องตาม ISO 14025 เพื่อให้ EPD รายงานข้อมูลประเภทเดียวกัน
ตามมาตรฐาน ISO 14020 ผู้ดำเนินการโครงการสามารถเป็น “บริษัทหรือกลุ่มบริษัท ภาคส่วนอุตสาหกรรมหรือสมาคมการค้า หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอิสระด้านวิทยาศาสตร์ หรือองค์กรอื่นๆ” ผู้ดำเนินโครงการได้พัฒนา อนุมัติ และเผยแพร่กฎหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ (PCR) และกฎเฉพาะผลิตภัณฑ์ (PSR) (ดูหมายเหตุท้ายเรื่อง 5) PCR คือ "ชุดของกฎ ข้อกำหนด และแนวทางเฉพาะสำหรับการแถลงการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมประเภท III สำหรับหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์หนึ่งประเภทขึ้นไป" (ดูหมายเหตุท้ายเรื่อง 6) ตัวอย่างเช่น PCR ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารฉบับนี้ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ HVAC-R รวมถึงกำหนดวิธีที่ผู้ผลิตควรใช้ในการทำ LCA PSR อธิบายกฎสำหรับผลิตภัณฑ์เฉพาะภายในหมวดหมู่นี้ เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ เครื่องปรับอากาศ, UPS เป็นต้น ผู้ดำเนินโครงการยังดูแลการลงทะเบียนและการเผยแพร่ EPD และพยายามทำให้แน่ใจว่าผู้ผลิตจะไม่ได้รับผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมด้วยการฝ่าฝืนกฎขณะสร้าง EPD เราอภิปรายถึงหลุมพรางเหล่านี้ไปส่วนหนึ่งในส่วน "คำแนะนำสำหรับการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์อย่างแม่นยำ"
ISO 14040 ตาราง A.1 ให้ข้อมูลสรุปของขั้นตอนและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาและการดำเนินงานของโครงการแถลงการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม รูปที่ 4 แสดงให้เห็นภาพรวมและแสดงให้เห็นว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ มาตรฐานระบุว่า “ผู้มีส่วนได้เสียอาจรวมถึงซัพพลายเออร์วัตถุดิบ ผู้ผลิต สมาคมการค้า ผู้ซื้อ ผู้ใช้ ผู้บริโภค องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) รัฐวิสาหกิจ และเมื่อเกี่ยวข้อง หน่วยงานอิสระและหน่วยงานผู้ให้การรับรอง”
เรามี EPD ที่เรียกว่าข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ product environmental profiles (PEP) PEP เป็นคำที่ใช้โดยผู้ดำเนินโครงการ P.E.P. Associationซึ่งเป็นผู้ดูแล โครงการแถลงการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม PEP ecopassport Environmental Declaration Program ผู้ดำเนินโครงการนี้สนับสนุน PCR สำหรับผลิตภัณฑ์ EEE และ HVAC โปรดทราบว่าผู้ผลิตผลิตภัณฑ์มักจะพัฒนา EPD ของตนเองตามกฎของผู้ดำเนินโครงการ แต่พวกเขาต้องได้รับการตรวจสอบโดยอิสระโดยผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กร (ดูหมายเหตุท้ายเรื่อง 7) หรือผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกบริษัทตามที่เปิดเผยในเอกสาร EPD ในขณะที่ EPD ช่วยให้คุณสามารถระบุความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเชิงปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันได้ง่ายขึ้น EPD ยังให้ข้อมูลที่บริษัทจำเป็นต้องรับผิดชอบสำหรับการปล่อยมลพิษขอบเขต 1, 2 และ 3 เพื่อแสดงความคืบหน้าของตนเองเทียบกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร รูปที่ 5 แสดงตัวอย่าง PEP สำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์ตรวจจับความผิดปกติของการอาร์ก
โดยสรุป ฉลากประเภท III เช่น EPD เป็นเครื่องมือหลักในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ในเชิงปริมาณ เอกสารเหล่านี้อิงจากมาตรฐาน ISO และตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ผู้ผลิตควรจัดทำ EPD ของตนเองให้พร้อมใช้งาน ฉลากประเภท I ได้รับการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม และมีประโยชน์สำหรับการวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยเฉพาะ เช่น ประสิทธิภาพด้านพลังงาน สุดท้าย ฉลากประเภท II สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้หากผู้ผลิตให้เอกสารที่สำคัญซึ่งแสดงถึงความน่าเชื่อถือ
วิธีอ่าน PEP
ในขณะที่ EPD ทั้งหมดให้ข้อมูลที่คล้ายกัน รูปแบบจะแตกต่างกันไปตามผู้ให้บริการโครงการ ดังนั้น ในส่วนนี้ เราจะให้ความสำคัญกับ PEP จากผู้ให้บริการโครงการ P.E.P. Association ตามปกติ PEP จะขึ้นต้นด้วยรูปภาพและคำอธิบายของผลิตภัณฑ์ ตามด้วยข้อมูลรายละเอียดสำหรับรุ่นนั้นๆ ข้อมูลหลักที่จำเป็นสำหรับการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์มักแสดงตามลำดับต่อไปนี้:
-
คือผลิตภัณฑ์ซึ่งมีข้อมูลความยั่งยืนที่สามารถใช้เป็นตัวอย่างและเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเปรียบเทียบของคุณ นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงคำอธิบายผลิตภัณฑ์ด้วย กฎ EPD อนุญาตให้ผลิตภัณฑ์อ้างอิงนี้เป็นตัวแทนของทุกรุ่นในกลุ่มผลิตภัณฑ์นั้นๆ จากนั้น เราจะอภิปรายวิธีที่คุณสามารถใช้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์อ้างอิงเพื่อประเมินข้อมูลของรุ่นเป้าหมาย
-
ข้อมูลนี้ระบุถึงฟังก์ชันการทำงานของผลิตภัณฑ์ตัวแทน ตัวอย่างเช่น "เพื่อลดระดับแรงดันไฟฟ้าจากสายส่งที่ 75kVA เป็นระดับแรงดันไฟฟ้าที่ผู้บริโภคใช้ตามข้อกำหนดประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่กำหนดโดย DOE (กระทรวงพลังงานสหรัฐ) เป็นเวลา 20 ปี" บางครั้งหน่วยฟังก์ชันการทำงานจะระบุต่อหน่วยพลังงาน ต่อหน่วยน้ำหนัก เป็นต้น โปรดทราบว่า เพื่อเปรียบเทียบ PEP สองชุด หน่วยฟังก์ชันการทำงานและวิธีการประเมินต้องเหมือนกัน ดูที่ส่วน "คำแนะนำสำหรับการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์อย่างแม่นยำ" สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
-
ข้อมูลนี้จะแสดงน้ำหนักของผลิตภัณฑ์อ้างอิง รวมถึงแสดงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ออกเป็นเปอร์เซ็นต์ น้ำหนักรวมใช้เพื่อปรับขยายข้อมูลสภาพแวดล้อมตามสัดส่วนสำหรับรุ่นอื่นๆ
-
ส่วนนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การติดตั้ง การใช้งาน และการสิ้นสุดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์อ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เหล่านี้คือเงื่อนไขที่ใช้ใน LCA
-
ส่วนนี้จะเริ่มต้นด้วยเงื่อนไข LCA เพิ่มเติม รูปที่ 6 แสดงตัวอย่างของเงื่อนไขเหล่านี้ในตารางผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับบัสเวย์ไฟฟ้า แถวสุดท้ายในตารางมีความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากแถวนี้สื่อถึงตัวประกอบการปล่อยมลพิษ (ดูหมายเหตุท้ายเรื่อง 8) ที่ใช้ใน LCA เราจะอภิปรายเกี่ยวกับเงื่อนไขที่สำคัญในส่วนถัดไป
ตารางดังกล่าวทำตามรายการ “ตัวบ่งชี้ผลกระทบ” สำหรับผลิตภัณฑ์อ้างอิง ซึ่งวัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ค่าเหล่านี้มักจะแสดงใน สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (เช่น 2.52E+02) ตัวบ่งชี้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ
- "การมีส่วนร่วมในภาวะโลกร้อน" หรือ "ภาวะโลกร้อน" โดยปกติจะมีหน่วยเป็น kg CO2e ("e" ย่อมากจาก เทียบเท่า) ข้อมูลนี้คือสิ่งที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า "คาร์บอนฟุตพรินต์" ของผลิตภัณฑ์
ข้อมูลนี้และตัวบ่งชี้ผลกระทบอื่นๆ ทั้งห้าช่วงของ LCA ซึ่งกำหนดไว้ใน PCR
- การผลิต - "ตั้งแต่การสกัดทรัพยากรธรรมชาติไปจนถึงการผลิตผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการส่งมอบไปยังแพลตฟอร์มโลจิสติกส์สุดท้ายของผู้ผลิต";
- การกระจาย - "การขนส่งจากแพลตฟอร์มโลจิสติกส์สุดท้ายของผู้ผลิตไปจนถึงจุดรับผลิตภัณฑ์ในสถานที่ที่นำไปใช้งาน";
- การติดตั้ง - "การติดตั้งผลิตภัณฑ์ที่สถานที่ใช้งาน";
- การใช้งาน - "การใช้ผลิตภัณฑ์และการบำรุงรักษาที่จำเป็นเพื่อให้มั่นใจได้ถึงความสามารถในการใช้งาน";
- การหมดอายุใช้งาน - "การถอด การรื้อถอน และการขนส่งผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานไปยังศูนย์คืนสภาพผลิตภัณฑ์หรือสถานที่ฝังกลบ และการจัดการผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ"
-
ส่วนสุดท้ายของ PEP แสดงเป็นตารางที่ประกอบด้วย:
- วันที่ออก PEP;
- ช่วงเวลาที่ PEP มีผล;
- PSR และเวอร์ชันที่ PEP ใช้อ้างอิง;
- การตรวจสอบแถลงการณ์และข้อมูลอย่างเป็นอิสระ "X" แสดงว่า PEP อิงตามจากการตรวจสอบภายในหรือภายนอกบริษัท
คำแนะนำเพื่อการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์อย่างแม่นยำ
การเปรียบเทียบความยั่งยืนควรทำหลังจากที่คุณมีรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการด้านการทำงานของคุณแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของ UPS ข้อกำหนดอาจรวมถึง รันไทม์ ความสามารถในการรองรับ ขนาด ปัจจัยด้านพลังงาน เป็นต้น เมื่อคุณมีรายการผลิตภัณฑ์แล้ว คุณจะสามารถเปรียบเทียบคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณได้ แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำเรื่องนี้คือ การเปรียบเทียบข้อมูล PEP ธีมหลักในส่วนนี้คือ แนวคิดในการเปรียบเทียบแบบ "แอปเปิ้ลกับแอปเปิ้ล" ตัวอย่างเช่น หม้อแปลงที่ไม่มีประสิทธิภาพมักจะถูกเข้าใจผิดได้ง่ายว่ามีความยั่งยืนสูงสุด เมื่อมองเฉพาะผลรวมคาร์บอนฟุตพรินต์เท่านั้น
จะแน่ใจได้อย่างไรว่าทำการเปรียบเทียบได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่ามาตรฐาน ISO จะให้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับ LCA และ EPD แต่ก็ไม่ได้ขจัดข้อผิดพลาดของผู้ผลิตหรือรับประกันว่าการเปรียบเทียบนั้นถูกต้อง ดังนั้น ผู้ใช้ต้องระวังเมื่อทำการเปรียบเทียบ PEP สำหรับผลิตภัณฑ์อย่างน้อยสองรายการขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมาจากผู้ผลิตที่แตกต่างกัน ในส่วนนี้ เราได้แสดงข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่สองรายการขึ้นไป สังเกตว่า ขณะที่เรามุ่งเน้นไปที่คาร์บอน ความผิดพลาดเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับตัวบ่งชี้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
-
ข้อมูล PEP ไม่ถูกต้อง 100% ดังนั้น หากค่าของตัวบ่งชี้นั้นๆ อยู่ภายใน 10% ของกันและกัน ผลิตภัณฑ์ทั้งสองจะได้รับการพิจารณาว่าเท่ากันสำหรับตัวบ่งชี้ดังกล่าว เนื่องจากขอบเขตของความผิดพลาดที่มาตรฐานยอมรับสำหรับค่าที่รายงานโดยผู้ผลิตคือ +/- 5% ตัวอย่างเช่น หากคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ "A" เท่ากับ 100 กก. และผลิตภัณฑ์ "B" เท่ากับ 105 กก. ควรพิจารณาว่าเท่ากันเนื่องจากช่วง "+" และ "-" คาบเกี่ยวกัน
-
เอกสาร PEP ประกอบด้วยข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งบางข้อมูลมีความซับซ้อน ดังนั้น เอกสาร PEP จึงควรใส่ลิงก์ไปยังคำจำกัดความของคำศัพท์ที่ใช้ภายในเอกสารเหล่านั้น สิ่งนี้จะยิ่งสำคัญมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตหลายราย เนื่องจากคำจำกัดความดังกล่าวเป็นเครื่องยืนยันว่าคุณกำลังเปรียบเทียบข้อมูลประเภทเดียวกัน
-
การเปรียบเทียบฟุตพรินต์โดยรวมไม่ได้รับประกันว่าคุณกำลังเปรียบเทียบค่าที่เหมือนกัน ยกเว้น หากทำการประเมินแต่ละช่วงเวลา LCA ด้วยวิธีเดียวกัน หัวข้อถัดไปจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้
-
ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าทั้งหมดมีการสูญเสียทางไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอน อย่างไรก็ตาม ขนาดของการปล่อยมลพิษเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวประกอบการปล่อยมลพิษ ซึ่งเป็นอัตราส่วนของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาต่อทุกกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ LCA จะใช้บางตัวประกอบการปล่อยมลพิษเพื่อคำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลา “การใช้งาน” ของผลิตภัณฑ์
หากตัวประกอบการปล่อยมลพิษไม่เหมือนกันระหว่างผลิตภัณฑ์ที่คุณกำลังทำการเปรียบเทียบ คุณไม่สามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์นั้นได้อย่างยุติธรรม สิ่งนี่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ เช่น เครื่องปรับอากาศและ UPS เนื่องจากปริมาณการปล่อยมลพิษในระหว่างช่วงเวลาการใช้งานมักจะเป็นปริมาณการปล่อยมลพิษหลักใน LCA รวม ตัวอย่างเช่น ค่อนข้างเป็นไปได้ที่ PEP ของ UPS ที่มีประสิทธิภาพ (เช่น 95%) จะแสดงการปล่อยมลพิษโดยรวมสูงกว่า UPS ที่มีประสิทธิภาพไม่ค่อยดีนัก (เช่น 80%) ถึงสามเท่า ดังแสดงใน ตารางที่ 1 คือตัวอย่างได้รับการคำนวณโดยถือว่าเป็นตัวประกอบการปล่อยมลพิษโดยรวมสําหรับ 27 ประเทศในยุโรป (0.231 kg.CO2e/kWh) เทียบกับตัวประกอบการปล่อยมลพิษของฝรั่งเศส (0.062 kg. CO2e/kWh) ถึงแม้ว่าฟังดูจะไม่ค่อยเป็นธรรม แต่ผู้ดำเนินโครงการได้อนุญาตให้ผู้ผลิตใช้ตัวประกอบการปล่อยมลพิษของประเทศนั้นสำหรับรุ่นที่ขายภายในประเทศนั้นๆ อย่างไร ในบางกรณี ผลิตภัณฑ์รุ่นเดียวกันเหล่านี้ขายอยู่ทั่วโลกด้วยเช่นกัน
ยิ่งไปกว่านั้น "รูปแบบพลังงานที่ใช้" (แถวสุดท้ายในรูปที่ 6) ของ PEP ทำให้การสืบหาตัวประกอบการปล่อยมลพิษนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากโดยปกติแล้ว ค่านี้จะระบุเป็นรหัสไฟฟ้าผสม เช่น “<1 kV; EU-27” หากคุณไม่สามารถสืบหาตัวประกอบการปล่อยมลพิษสำหรับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้ วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการประเมินการปล่อยมลพิษในช่วงการใช้งานระหว่างผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ 2 รายการขึ้นไปคือการเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ณ โหลดเดียวกันโดยใช้เครื่องมือคำนวณด้านประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น "เครื่องมือคำนวณการเปรียบเทียบประสิทธิภาพ UPS แบบเฟสเดียว" ให้วิธีการที่มีประสิทธิภาพและง่ายในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ UPS สองเครื่องที่แตกต่างกัน โปรดทราบว่า แม้วิธีนี้จะไม่พิจารณาการปล่อยมลพิษในช่วงเวลาของการใช้งาน ซึ่งสามารถมองข้ามได้สำหรับบางผลิตภัณฑ์ เช่น UPS เนื่องจากแสดงให้เห็นเปอร์เซ็นต์ของการใช้งานทั้งหมดเพียงเล็กน้อย (<2%)
สุดท้ายนี้ หากไม่มีเครื่องคำนวณที่มีประสิทธิภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ที่คุณกำลังเปรียบเทียบ วิธีที่ดีที่สุดคือการขอให้ผู้ผลิตส่งกราฟประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เปอร์เซ็นต์การโหลดเท่ากัน
ประเด็นที่สำคัญ: หากตัวประกอบการปล่อยมลพิษไม่เหมือนกันระหว่างผลิตภัณฑ์ที่คุณกำลังทำการเปรียบเทียบ คุณจะไม่สามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์นั้นได้อย่างยุติธรรม
-
แสดงเปอร์เซ็นต์การโหลด และระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์ตัวแทนทำงานตลอดช่วงอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ (แถวที่สี่ในรูปที่ 6) ตัวอย่างเช่น อาจระบุเป็นโหลด 25% สำหรับ 20% ของอายุการใช้งาน โหลด 50% สำหรับ 20%, โหลด 75% สำหรับ 30% และโหลด 100% สำหรับ 30% ข้อมูลการใช้งานที่ใช้เพื่อการคำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่อภิปรายในหัวข้อก่อนหน้านี้ หากมีความแตกต่างกัน จะไม่สามารถเปรียบเทียบค่าเหล่านั้นได้ ในท้ายที่สุด ข้อมูลการใช้งานจะขึ้นอยู่กับโหมดการทำงานเฉพาะ (เช่น โหมดปกติ โหมด economizer) และโหมดเหล่านี้จะต้องสอดคล้องกันในการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ด้วย
-
กฎ PEP อนุญาตให้ผลิตภัณฑ์อ้างอิงเป็นตัวแทนของรุ่นต่างๆ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นั้นๆ การเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์อ้างอิงจาก PEP ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปโดยตรงอาจหมายความว่าคุณกำลังเปรียบเทียบคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ที่มีความจุแตกต่างกัน (เช่น เบรกเกอร์ 100A กับเบรกเกอร์ 600A) ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง ในบางครั้ง เช่นในกรณีของเครื่องปรับอากาศ PEP ให้ตัวบ่งชี้ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในหน่วยที่ปรับเป็นปกติ (เช่น กก. CO2e ต่อ kW ของการทำความเย็น) หากไม่ได้ปรับตัวบ่งชี้ให้เป็นปกติ คุณต้องปรับสัดส่วนตัวบ่งชี้ด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์อ้างอิงโดยใช้น้ำหนัก (เช่น การปล่อยมลพิษจากการผลิต กก. ต่อ กก. ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์อ้างอิง) ในทำนองเดียวกัน คุณต้องปรับขนาดข้อมูลการใช้งานของผลิตภัณฑ์อ้างอิงตามสัดส่วนโดยใช้ความจุในการจ่ายกระแสไฟฟ้า (เช่น ใช้การปล่อยมลพิษ กก. ต่อ วัตต์ ของความจุของผลิตภัณฑ์อ้างอิง) ตาราง 2 แสดงตัวอย่างของวิธีการคำนวณการปล่อยมลพิษในการผลิตสำหรับ "รุ่น B" รุ่นที่คุณต้องการประเมิน โดยใช้ "รุ่น A" เป็นผลิตภัณฑ์อ้างอิงใน PEP
คุณต้องทำขั้นตอนนี้ซ้ำสำหรับตัวบ่งชี้ด้านสิ่งแวดล้อมแต่ละตัวที่คุณต้องการประเมิน การประมาณค่านอกช่วงเหล่านี้อยู่ภายใต้ความแม่นยำที่คาดหวังของข้อมูล PEP
-
PEP กับรุ่น PSR และ PCR ที่แตกต่างกันอาจทำให้เกิดการผันแปรที่ทำให้การเปรียบเทียบไม่ถูกต้อง ตรวจสอบตารางในหน้าสุดท้ายเพื่อตรวจสอบรุ่น PSR และ PCR ที่เหมือนกัน
เราไม่แนะนำให้เปรียบเทียบ EPD จากผู้ดำเนินโครงการที่แตกต่างกัน (เช่น เจ้าหนึ่งมากจาก P.E.P. Association และอีกเจ้ามาจาก Ecoleaf) ซึ่งสาเหตุหลักมาจาก PCR ที่ใช้ในการวิเคราะห์วงจรชีวิตอ้างอิงมีแนวโน้มแตกต่างกัน การเพิ่มขึ้นของผู้ดำเนินโครงการ (ดูหมายเหตุท้ายเรื่อง 9) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมวัสดุสำหรับอาคารและวัสดุสำหรับการก่อสร้าง ได้นำไปสู่ความพยายามต่างๆ มากมายในการทำให้ PCR ใช้งานร่วมกันได้ แต่จนถึงปัจจุบัน ไม่มีองค์กรใดเลยที่สามารถรับประกันความสอดคล้องกันของ PCR จากผู้ดำเนินโครงการทั้งหมด
-
PCR ฉบับที่สี่ ประกอบด้วยขั้นตอนเพิ่มเติมที่เรียกว่า โมดูล D "ผลประโยชน์และโหลดสุทธิที่เกินกว่าขอบเขตของระบบ" ขั้นตอนเพิ่มเติมนี้ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถกล่าวอ้างถึงเครดิตด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับ "การใช้ซ้ำ การฟื้นฟู และ/หรือการรีไซเคิล" ตัวอย่างเช่น หากนำผลิตภัณฑ์ไปรีไซเคิล 100% ผู้ผลิตอาจกล่าวอ้างถึงค่าที่เป็นลบเทียบเท่ากับฟุตพรินต์การผลิต ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะเมื่อผู้ผลิตมีโครงการรีไซเคิลที่นำผลิตภัณฑ์ซึ่งหมดอายุการใช้งานแล้วทุกชิ้นไปรีไซเคิล 100% เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ โครงการรีไซเคิลจำเป็นต้องนำไปใช้ในพื้นที่ของคุณด้วย ก่อนที่จะยอมรับเครดิตนี้โดยไม่เห็นการกระทำที่เกี่ยวข้อง ให้ขอข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับโครงการรีไซเคิลของผู้ผลิต โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษว่าผู้ผลิตแน่ใจได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ที่รับคืนมาถึงมือผู้ผลิต 100% และไม่ไปอยู่ในหลุมฝังกลบ
-
ในบางครั้ง PEP ไม่รวมส่วนประกอบที่คาดหวัง ดังนั้นจึงมีการตั้งความคาดหวังว่าผู้ผลิตหนึ่งรายมีฟุตพรินต์ที่ต่ำกว่าอีกเจ้าหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น PEP ของ UPS อาจไม่รวมแบตเตอร์รี่ไว้ด้วย ในกรณีส่วนใหญ่ PEP ของสวิตช์เกียร์หรือแผงไฟฟ้าจะไม่รวมเซอร์กิตเบรกเกอร์ไว้ด้วย เพื่อป้องกันความผิดพลาดนี้ ให้อ่าน PEP ทั้งหมดอย่างละเอียด และจดบันทึกสิ่งที่ไม่รวมอยู่ด้วย
เกณฑ์อื่นๆ ในการประเมิน
เกณฑ์ต่อไปนี้ ประเมินและเปรียบเทียบกับผลิตภัฑณ์ที่คล้ายกันได้ยากกว่า อย่างไรก็ตาม การมีข้อมูลนี้จะช่วยผู้ซื้อในการตัดสินใจซื้อได้
-
ความทนทานคือความสามารถที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ “คงอยู่ได้เป็นเวลานานโดยไม่การเสื่อมลงในคุณภาพและมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญ” หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ยิ่งใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ยาวนานโดยมีการบำรุงรักษาและการเสื่อมเพียงเล็กน้อยเท่าไร ก็ยิ่งมีความยั่งยืนมากเท่านั้น (ถือว่าผลิตภัณฑ์นี้ยังมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมด้วย) เมื่อคุณยืดเวลาความจำเป็นในการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ คุณจะเลื่อนความต้องการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องซึ่งจำเป็นในการผลิต การกระจาย และผลกระทบของการกำจัดทิ้งผลิตภัณฑ์เก่า การแยกส่วนอาจเป็นแนวทางการออกแบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อปรับปรุงความทนทานในสองวิธีที่เกี่ยวข้องกัน ข้อแรก เมื่อผลิตภัณฑ์เป็นแบบแยกส่วน คุณสามารถซ่อมแซมโมดูลที่ทำงานล้มเหลวได้โดยการสลับกับผลิตภัณฑ์ใหม่ แทนที่จะเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ข้อที่สอง โมดูลที่ปรับตามมาตรฐานช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงความน่าเชื่อถือของโมดูลได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่แบบแยกส่วนประกอบได้ ซึ่งหมายความว่ามีความจำเป็นเพียงเล็กน้อยในการซ่อมแซม และผลที่ตามมาก็คือ ของเสียที่ต้องนำไปฝังกลบน้อยลง ตัวอย่างผลิตภัณฑ์แบบแยกส่วนประกอบรวมถึง สวิตช์เกียร์แบบถอดออก และระบบ UPS ที่ปรับขยายขนาดได้ (สามารถเปลี่ยนสลับโมดูลไฟฟ้าและแบตเตอรี่ได้)
สําหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบซึ่งเป็น "วัสดุสิ้นเปลือง" (เช่น ตัวกรองอากาศ) ความทนทานยังหมายความว่าผู้ผลิตจะเสนอชิ้นส่วนทดแทนและบริการบํารุงรักษาตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ด้วยข้อมูลนี้ ผู้ตัดสินใจจึงสามารถมั่นใจได้มากขึ้นในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของต่ำกว่า (TCO) โดยเฉพาะในกรณีที่ต้นทุนที่ต้องจ่ายล่วงหน้าของผลิตภัณฑ์หนึ่งน้อยกว่าอีกผลิตภัณฑ์หนึ่ง การประเมินความทนทานที่อ้างอิงตามมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐานยุโรป CSN EN 45552 วิธีการทั่วไปสำหรับการประเมินความทนทานของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน
-
อธิบายขอบเขตที่ผลิตภัณฑ์สามารถซ่อมแซมได้ เช่นเดียวกับความทนทาน การซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ทำงานได้นานขึ้น จึงเป็นการปรับปรุงความยั่งยืน ความสามารถในการซ่อมแซมได้ที่ครอบคลุมโดยมาตรฐานยุโรป CSN EN45554 “วิธีการทั่วไปในการประเมินความสามารถในการซ่อมแซม นำกลับมาใช้ใหม่ และอัปเกรดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน” ความสามารถในการซ่อมแซมยังรวมถึงความง่ายในการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ด้วย ตัวอย่างเช่น ในกรณีของสวิตช์เกียร์ ความสามารถในการซ่อมแซมจะดีขึ้นอย่างมากหากเป็นแบบแยกส่วนประกอบได้ ตัวอย่างอื่นๆ รวมถึงการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้ว่าระบบย่อยใดที่ล้มเหลว การใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน และความสะดวกในการเข้าถึงชิ้นส่วนที่ถูกเปลี่ยนบ่อยที่สุด
-
อธิบายความเป็นไปได้ของการส่งผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วกลับคืนไปยังผู้ผลิต ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่านผู้ให้บริการก็ตาม เป้าหมายของการรับคืนคือการนำส่วนประกอบที่มีคุณค่าสูงสุดออกจากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วเทียบกับการนำผลิตภัณฑ์ไปทิ้งด้วยการฝังกลบ ซึ่งนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างสูญเปล่ามากขึ้น เมื่อผู้ผลิตทำให้การรับคืนผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วเป็นเรื่องง่าย การมีส่วนร่วมในโปรแกรม 5R (ซ่อมแซม ฟื้นฟู ผลิตซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ และรีไซเคิล) จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ผู้ผลิตมีทางเลือกมากขึ้นในการยืดอายุผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ โดยการเพิ่มปริมาณของชิ้นส่วนอะไหล่และชิ้นส่วนที่ฟื้นฟู ผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบที่ไม่สามารถกู้คืนได้ สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถกล่าวอ้างถึงความสามารถในการ “รับคืน” ได้ ผู้ผลิตต้องอนุมัติให้ผลิตภัณฑ์นั้นสามารถรับคืนได้ที่ผู้ให้บริการอย่างน้อยหนึ่งราย ซึ่งหมายความว่าผู้ผลิตได้พัฒนากระบวนการสำหรับการรับคืนผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการ หรือติดต่อโดยตรงไปยังโรงงานของผู้ผลิต ซึ่งยังหมายความว่าบุคคลผู้รับผลิตภัณฑ์ได้รับการฝึกอบรมในการแปรสภาพผลิตภัณฑ์เหล่านั้นแล้ว การส่งคืนผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานยังอาจทำให้ผู้ใช้มีสิทธิ์อัปเกรดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกด้วย
ข้อกำหนดของ Request for proposal (RFP)
บริษัทที่ต้องการเพิ่มข้อกำหนดด้านความยั่งยืนให้กับกระบวนการจัดซื้อมีความท้าทายในการรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมจากซัพพลายเออร์ ผู้ผลิตหลายรายไม่มีข้อมูลเหล่านี้ ผู้ผลิตรายอื่นๆ อาจมีข้อมูลส่วนหนึ่งแต่อยู่ในรูปแบบไร้โครงสร้าง ในท้ายที่สุด ผู้ผลิตจะทำให้ข้อมูลด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์มีความโปร่งใสและดูผ่านออนไลน์ได้ อย่างไรก็ตาม แผนกจัดซื้อสามารถเร่งการดำเนินการนี้ได้โดยการทำ PEP (และ EPD โดยทั่วไป) ของส่วนที่จำเป็นสำหรับกระบวนการ RFP (ดูหมายเหตุท้ายเรื่อง 10) ขณะที่กระบวนการทำงานของแต่ละบริษัทมีความแตกต่างกันไป แต่ข้อกำหนดในการส่ง PEP ไม่เพียงช่วยให้คุณสามารถดำเนินการเปรียบเทียบความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเชิงปริมาณได้เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาณที่แสดงว่าผู้ผลิตมีความจริงจังเกี่ยวกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมด้วย
Schneider Environmental Data Program
Environmental Data Program ของ Schneider Electric เป็นวิธีที่เราจัดประเภท วัด และเปรียบเทียบคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ของเรา สร้างขึ้นจากมรดกของโปรแกรม Green Premium ของเราโดยใช้วิธีการตามวิทยาศาสตร์ที่ให้การเข้าถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆ อย่างโปร่งใสสำหรับผลิตภัณฑ์ของ Schneider ทั้งหมด
-
โปรแกรมนี้มีข้อมูลที่โปร่งใสมากขึ้นครอบคลุมวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์โดยละเอียดนี้ครอบคลุมมากกว่าข้อกำหนดด้านกฎระเบียบที่มีอยู่เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า
-
โปรแกรมประกอบด้วยหมวดหมู่ข้อมูล 5 ประเภท โดยแต่ละหมวดหมู่สอดคล้องกับขั้นตอนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ด้วยจุดข้อมูลมากกว่าสามสิบจุดที่มีคำอธิบาย คุณจึงสามารถเข้าใจ Environmental Data Program ได้ง่าย และทำการตัดสินใจโดยอิงข้อมูลได้
-
โครงการนี้ช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจตามข้อเท็จจริงโดยใช้ประโยชน์จากจุดข้อมูลที่เชื่อถือได้และเชื่อถือได้ คุณจะสามารถสร้างความแตกต่างเกี่ยวกับคุณค่าที่มอบให้กับลูกค้าของคุณโดยเลือกตัวเลือกที่ยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงประเมินและรายงานผลเกี่ยวกับฟุตพรินต์ด้านสิ่งแวดล้อมและความพยายามในการลดการปล่อย CO2 ของคุณได้อย่างแม่นยำ
บทสรุป
แม้ว่าจะมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น การใช้น้ำและการมีส่วนร่วมที่ทำให้แหล่งแร่หมดสิ้นไป แต่คู่มือนี้มุ่งเน้นไปที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนซึ่งเป็นวิธีการประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ฉลากประเภท III ได้แก่ ใบรับรองผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม environmental product declarations (EPD) เป็นเครื่องมือหลักในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ในเชิงปริมาณ เอกสารเหล่านี้อิงจากมาตรฐาน ISO และได้รับการตรวจสอบแล้ว ผู้ผลิตต้องไม่ทำเพียงแต่การเตรียมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ให้พร้อมใช้งานสำหรับผู้บริโภคของตนเท่านั้น แต่ยังทำให้ข้อมูลเหล่านั้นสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว EPD มีความซับซ้อนมากเกินไปและเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ผลิตควรมีความโปร่งใสในเงื่อนไขและมาตรฐานที่ใช้ในการคิดคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์และตัวบ่งชี้ด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกจากฉลากประเภท III แล้ว ฉลากประเภท I ยังได้รับการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม และมีประโยชน์สำหรับการวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานเฉพาะ เช่น ประสิทธิภาพด้านพลังงาน ฉลากประเภท II เป็นฉลากที่กำหนดเอง แต่สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้หากผู้ผลิตมีเอกสารที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือ
ในขณะที่ EPD ควรจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่อาจแตกต่างกันได้ตามผู้ผลิต และหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ (PEP) คือ EPD แบบหนึ่ง ใช้กับผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEE) และ HVAC ที่เป็นไปตามกฎหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ product category rules (PCR) เฉพาะ เอกสาร PEP ควรมีชื่อผลิตภัณฑ์ น้ำหนัก และฟังก์ชันการทำงาน และตัวชี้วัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญรวมถึง “การมีส่วนร่วมทำให้เกิดภาวะโลกร้อน” นั่นก็คือคาร์บอนฟุตพรินต์สำหรับ 5 วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การผลิต การกระจาย การติดตั้ง การใช้ และการสิ้นสุดการใช้งาน เมื่อทำการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคอาจเพียงต้องการเปรียบเทียบผลรวมคาร์บอนฟุตพรินต์เท่านั้น แต่นั่นไม่ใช่การเปรียบเทียบอย่างถูกต้องเสมอไป เราขอแนะนำให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบทั้ง 5 ช่วงวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ และมองหาความแตกต่างในตัวประกอบการปล่อยมลพิษ ข้อมูลการใช้ ส่วนประกอบ หลักฐานของคำกล่าวอ้าง และคำนิยาม
Schneider Electric ตัดสินใจที่จะก้าวไปอีกขั้นด้วยการเปิดตัว Environmental Data Program โปรแกรมนี้ครอบคลุมมากกว่าข้อมูลคาร์บอนและพัฒนาความโปร่งใสด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบรู้มากยิ่งขึ้น
หมายเหตุท้ายเรื่อง
[1] FashionUnited, จากรายงานฉบับใหม่ 42% ของบริษัทมีการกล่าวอ้างถึงเรื่องความยั่งยืนเกินจริง, 2/2021
[2] Adweek, แบรนด์ต่างๆ เริ่มมีแนวทางเพื่อหยุดการฟอกเขียวท่ามกลางความสงสัยของลูกค้าเกี่ยวกับความยั่งยืน, 4/2022
[3] The Intercept, BlueTriton ผู้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดรายใหญ่ยอมรับว่าการกล่าวอ้างเกี่ยวกับการรีไซเคิลและความยั่งยืนนั้นเป็นการกล่าวอ้างที่ “เกินจริง”, 4/2022
[4] TFL H&M ถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับการทำให้เกิดความเข้าใจผิดทางด้านการตลาดเกี่ยวกับความยั่งยืน ตัวชี้วัดผลิตภัณฑ์, 7/2022
[5] ผลิตภัณฑ์หนึ่งหมวดหมู่สามารถมีผู้ดำเนินโปรแกรมได้เพียงหนึ่ง
[6] ISO 14025:2006 ฉลากสิ่งแวดล้อมและใบรับรอง - ใบรับรองสิ่งแวดล้อมประเภท III - หลักการและขั้นตอน
[7] การดำเนินการนี้ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับ business-to-business เท่านั้น
[8] ตัวประกอบของการปล่อยมลพิษคืออัตราการปล่อยมลพิษต่อ MWh ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ คูณตัวประกอบนี้ (kg CO2e/MWh) ด้วยปริมาณการใช้พลังงาน (MWh) จะให้ผลลัพธ์เป็นปริมาณการปล่อย CO2 ทั้งหมด
[9] M. Bach & L. Breuer, การวิเคราะห์ทางด้านสถาบันของโครงการ EPD และการจดทะเบียน PCR ทั่วโลก, 2014, หน้า 1
[10] แม้ว่าเอกสารวิจัยฉบับนี้จะมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม แต่กระบวนการ RFP ควรคำนึงถึงสังคมและธรรมาภิบาล (ESG) ด้วย
ดาวน์โหลดเอกสารวิจัยนี้
ต้องการความช่วยเหลือใช่หรือไม่
เริ่มต้นที่นี่!
ค้นหาคําตอบได้ตั้งแต่บัดนี้ ค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยตัวคุณเอง หรือติดต่อกับหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญของเรา
ฝ่ายบริการลูกค้าสัมพันธ์
ติดต่อทีมดูแลลูกค้าของเราเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม การสนับสนุนทางเทคนิค ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการร้องเรียน และอื่นๆ อีกมากมาย
สถานที่จัดจำหน่ายอยู่ที่ใด
ค้นหาตัวแทนจำหน่าย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่ใกล้ตัวคุณที่สุดได้อย่างง่ายดาย